วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

     4.)  ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญา และความคิด (Cognitive Development Theory)
          ผู้สร้างทฤษฏีนี้คือ นักจิตวิทยาชาวสวิส ชื่อ จีน พีอาเจต์  เขาพบว่าวิธีการคิดและการให้เหตุผลในสิ่งต่างๆของเด็กน่าสนใจมาก จึงได้ศึกษาพัฒนาการทางความคิดขึ้นในบ้าน โดยสังเกตพฤติกรรมบุตรชาย หญิงของตน และเขาได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา และความคิดออกเป็น 4 ขั้น
         (4.1) ขั้นสติปัญญา
         (4.2) การบรรลุถึงขั้นสติปัญญาขั้น 1 จะเป็นรากฐานสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาขึ้นต่อไป
         (4.3) ระดับขั้นของพัฒนาการด้านสติปัญญา
         (4.4) ขั้นพัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิด แต่ละขั้นรากฐานของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อไป
    5.)  ทฤษฏีพัฒนาการทางจริยธรรม (Moral Development Theory)
      ทฤษฏีพัฒนาการนี้ คือทฤษฏีของ  ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก   เขาได้พัฒนาทฤษฏีของเขาขึ้น ทฤษฏีของ โคลเบิร์ก เป็นทฤษฏีที่มีรากฐานมาจาก ทฤษฏีของ พีอาเจต์  โคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการออกเป็น 3 ระดับแต่ระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
   ระดับที่ 1 ระดับก่อนเกณฑ์สังคม ในระดับนี้เด็กจะได้รับกฎเกณฑ์ของพฤติกรรม “ดี”  พฤติกรรม “ไม่ดี”
      จากผู้มีอำนาจเหนือตน และโคลเบิร์กได้แบ่งพัฒนาการระดับนี้ออกเป็น 2 ขั้น คือ
         (1.1)การลงโทษและการเชื่อฟัง อายุ 2-7 ปี เด็กจะเคารพกฎเกณฑ์เพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษ
         (1.2)กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน อายุ 7-10 ปี เด็กจะเริ่มกระทำในสิ่งที่พอใจ
   ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคมเป็นพัฒนาการที่ผู้ทำถือว่าประพฤติตนตามความคาดหวังของผู้ปกครอง ระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ
        (2.1) ความคาดหวังและการยอมรับในสังคมสำหรับเด็กดี
        (2.2) กฎและระเบียบ                               
ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณหรือระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม พัฒนาการระดับนี้
           ผู้ทำได้พยายามจัดตีความหมายของหลักการ และการตัดสินใจ “ถูก” “ผิด” “ไม่ควร”  มาจาก   วิจารณญาณของตนระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ
   (3.1)  สัญญาสังคม
   (3.2)   หลักการคุณธรรมสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น