วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

การเรียนรู้
ความหมายของการเรียนรู้
        บารอน (Baron,Robert A.,1998:1770) ให้ความหมายว่าการเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลมาจากประสบการณ์
        คูน (Coon Dennis,1994:261) กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวร เนื่องมาจากได้รับประสบการณ์
พฤติกรรมการเรียนรู้
         แบ่งได้เป็น 3 ด้าน คือ 1.พฤติกรรมทางสมอง
                                             2.พฤติกรรมทางกล้ามเนื้อและประสาท
                                             3.พฤติกรรมทางอารมณ์หรือความรู้สึก
ทฤษฏีการเรียนรู้
      ทฤษฎีเป็นความรู้ที่เกิดจากสันนิษฐานด้วยหลักเหตุผลและจินตนาการ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ทฤษฎีจะเป็นที่ยอมรับเมื่อผ่านการทดลองแล้ว
      ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นักจิตวิทยาสนใจและศึกษาค้นคว้ามีหลายทฤษฎี  แต่จะกล่าวเพียง 2 กลุ่ม  คือ                 
1.              กลุ่มพฤติกรรมนิยม  (Behaviorism) หรือกลุ่มการสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
         นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้อธิบายการเรียนรู้ว่า การขึ้นจากการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ซึ่งพวกเขาได้เสนอทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ดังนี้
              1.1  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค พาฟลอฟ  เป็นการนำเสนอสิ่งเร้า 2ตัวพร้อมๆ กันระหว่างสิ่งเร้าที่ไม่ต้องการวางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข เพื่อต้องการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ต้องการวางเงื่อนไข ช่วยให้มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
               1.2  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ เป็นการวางเงื่อนไขการกระทำที่เกิดก่อน และตามด้วยการให้เติมตัวเสริมแรง และตัวเสริมแรงนี้จะมีการกระตุ้นให้มีการตอบสนอง
               1.3  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของธอร์นไดค์ หรืทฤษฎีการเรียนรู้โดยการลองผิดลองถูก
     2. กลุ่มความเข้าใจหรือทฤษฎีสนาม (Cognitive Learning Theory or Field Theory )
         นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลในช่วงของการเรียนรู้ บุคคลสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ สำหรับทฤษฎีกลุ่มนี้นำเสนอ 2ทฤษฎี คือ
                2.1  ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการหยั่งเห็น (Insight Learning) เป็นการอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการคิดสมองที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาคิดแก้ปัญหา
                2.2  ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม หรือการเรียนรู้โดยสังเกต (Social Learning or Oservational Theory) ทฤษฎีนี้เน้นการเรียนรู้โดยการออกแบบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ กระบวนการตั้งใจ  กระบวนการจดจำ  กระบวนการทำเหมือนตัวแบบ และกระบวนการจูงใจที่ผู้เรียนคาดหวัง
     จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าแต่ละแนวคิด ของการเรียนรู้ต่างก็มีประโยชน์ต่อครู ในการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น