วิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอน
1. ตั้งจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
2. การใช้สิ่งล่อใจกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน เช่น คำชมเชย คะแนน รางวัล ฯลฯ
3. การแข่งขัน กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความอดทนและปรับปรุงการเรียนของตนให้ดีขึ้น
สรุป การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความพร้อมในการเรียนการสอน ครูควรส่งเสริมความพร้อมของเด็กในช่วงวัยต่างๆให้เหมาะสมกับการส่งเสริมความพร้อมในการเรียน และวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอนนั้น ครูจะต้องกระตุ้นให้เด็กมีความหวัง ความภูมิใจ มีความพอใจที่จะเรียนและอยากประสบความสำเร็จด้านการเรียน การสร้างแรงจูงใจต้องใช้แรงจูงใจภายนอก และแรงจูงใจภายใน
เชาว์ปัญญาความคิดสร้างสรรค์
ความหมายของเชาว์ปัญญา
เชาว์ปัญญา หมายถึง ความสามารถที่จะใช้ความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในด้านต่างๆ เช่น การเรียนรู้ การแก้ปัญหา และการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีเชาว์ปัญญา มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีองค์ประกอบเดี่ยวเชื่อว่าเชาว์ปัญญา คือความสามรถในการคิดแบบนามธรรม ทฤษฎีสององค์ประกอบยังแบ่งความสามารถของเชาว์ปัญญาออกเป็น 2 องค์ประกอบ คือองค์ประกอบทั่วไป และองค์ประกอบเฉพาะ ทฤษฎีหลายองค์ประกอบของ เธอร์สโตน เสนอความสามารถสมองออกเป็น 7 ด้าน ทุกทฤษฎีต่างก็มีประโยชน์และเป็นพื้นฐานในการสร้างเครื่องมือวัดเชาว์ปัญญา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น