วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

ประเภทของแรงจูงใจ
              นักจิตวิทยา แบ่งแรงจูงใจออกเป็น 2 วิธี คือ
1.             การแบ่งประเภทของแรงจูงใจตามลักษณะของแรงจูงใจ ลักษณะของแรงจูงใจมี 2 ประเภท คือ แรงจูงใจภายใน และแรงจูงใจภายนอก
2.             การแบ่งประเภทของแรงจูงใจตามที่มาของแรงจูงใจ ที่มาของแรงจูงใจมี 3 ประเภท คือ แรงจูงใจทางสรีรวิทยา แรงจูงใจทางจิตวิทยา และแรงจูงใจทางสังคม ซึ่งแรงจูงใจทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนยังแบ่งย่อยออกเป็น 4 ชนิด เช่น แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์  แรงจูงใจใฝ่พึ่งพา และแรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว
องค์ประกอบที่ทำให้เกิดแรงจูงใจ
          องค์ประกอบที่ทำให้เกิดแรงจูงใจมี 3 ประเภทดังนี้
1.             องค์ประกอบทางด้านชีววิทยา ได้แก่ การทำงานของร่างกาย
2.             องค์ประกอบด้านความคิด ได้แก่ ความคิดเรื่องต่างๆของคน เป็นต้น
3.             องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ จากการที่มนุษย์ไดเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นผลจากสังคมที่เขาอยู่
ทฤษฎีแรงจูงใจ
            ในการศึกษานักจิตวิทยามีความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจต่างๆกันจึงมีทฤษฎีแรงจูงใจหลายทฤษฎีแต่จะกล่าวเพียง 6 ทฤษฎีดังนี้
1.             ทฤษฎีสันชาตญาณ
2.             ทฤษฎีแรงขับ
3.             ทฤษฎีการตื่นตัว
4.             ทฤษฎีความคาดหวัง
5.             ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของ มาสโลว์
6.             ทฤษฎีปัญญานิยม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น